วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกประจำวัน (น.ส. พิชญา บุญมาสืบ)

วันที่1
วันอาทิตย์ พอตื่นเช้ามาก็ทำธุรส่วนตัวแล้วจึงไปนั่งดูโทรทัศน์จนถึงตอนบ่ายก็ไปนั่งเล่นบ้านเพื่อนแล้วจึงกลับบ้านมานั่งดูโทรทัศน์จนเย็นแล้วพอดึกๆก็อาบน้ำแล้วจึงเข้านอน

วันที่2
วันจันทร์ วันนี้ตื่นสายหน่อยจึงรีบทำธุรส่วนตัวแล้วจึงนั่งดูข่าวในตอนเช้าแล้วไปโรงเรียนวันนี้เกือบไปโรงเรียนไม่ทัน และวันนี้อาจารย์สอนวิชาเคมีไม่มาก้เลยสบายหน่อยพอเลิกเรียนก็กลับบ้าน พอถึงบ้านก็นั่งดูโทรตทัศนื พอดึกๆอาบน้ำเข้านอน

วันที่3
วันอังคาร วันนี้ตื่นตามปกติแล้วจึงทำธุรส่วนตัว ก็ไปนั่งดูข่าวในตอนเช้าแล้วก็ไปโรงเรียน วันนี้อาจารย์สั่งงานเยอะมาก พอเลิกเรียนก็รีบกลับบ้าน พอถึงบ้านก้นั่งทำการบ้านเท่าที่ทำได้แล้วพอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่4
วันพุธ วันนี้ตื่นตามปกติแล้วจึงทำธุรส่วนตัว ก็ไปนั่งดูข่าวในตอนเช้าแล้วก็ไปโรงเรียน วันนี้มีสอบวิชาพละด้วย พอเลิกเรียนก็รีบกลับบ้าน พอถึงบ้านก็นั่งทำการบ้านเท่าที่ทำได้แล้วพอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่5
วันพฤหัสบดี วันนี้ตื่นตามปกติแล้วจึงทำธุรส่วนตัว ก็ไปนั่งดูข่าวในตอนเช้าแล้วก็ไปโรงเรียน พอเลิกเรียนก็รีบกลับบ้าน พอถึงบ้านก็นั่งทำการบ้านเท่าที่ทำได้แล้วพอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่6
วันศุกร์ วันนี้ตื่นตามปกติแล้วจึงทำธุรส่วนตัว ก็ไปนั่งดูข่าวในตอนเช้าแล้วก็ไปโรงเรียน พอเลิกเรียนคาบรังสรรค์ก็ไปนั่งเรียนกับอาจารย์สอนอังกฤษต่อ พอเลิกเรียนก็รีบกลับบ้าน พอถึงบ้านก้นั่งทำการบ้านเท่าที่ทำได้แล้วพอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่7
วันเสาร์ วันนี้ตื่นสายหน่อยแล้วจึงทำธุรส่วนตัว ก็ไปนั่งดูโทรทัศน์แล้วก็นั่งทำการบ้านที่อาจารย์สั่งไปด้วยพอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่8
วันอาทิตย์ วันนี้ตื่นสายหน่อยแล้วจึงทำธุรส่วนตัว ก็ไปนั่งดูโทรทัศน์ทั้งวันเพราะการบ้านทำวันเสาร์เสร็จแล้ว พอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่9
วันจันทร์ วันนี้ตื่นตามปกติแล้วจึงทำธุรส่วนตัว ก็ไปนั่งดูข่าวในตอนเช้าแล้วก็ไปโรงเรียน วันนี้รู้สึกจะปกติสุขที่สุดแต่ก็ยังมีการบ้านให้ทำแต่ไม่มากนักพอเลิกเรียนก็รีบกลับบ้าน พอถึงบ้านก้นั่งทำการบ้านเท่าที่ทำได้แล้วพอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่10
วันอังคาร วันนี้ตื่นตามปกติแล้วจึงทำธุรส่วนตัว ก็ไปนั่งดูข่าวในตอนเช้าแล้วก็ไปโรงเรียน วันต้องไปเรียนพิฌศาจึงกลับบ้านดึกๆหน่อย พอเลิกเรียนพิเศษก็รีบกลับบ้าน พอถึงบ้านก้นั่งทำการบ้านเท่าที่ทำได้แล้วพอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่11
วันพุธ วันนี้ตื่นตามปกติแล้วจึงทำธุรส่วนตัวแล้วจึงไปโรงเรียน วันนี้อาจารย์สั่งการบ้านเยอะมากเพราะว่าพรุ่งนี้เป็นวันหยุด พอเลิกเรียนก็รีบกลับบ้านแล้วพอถึงบ้านก้นั่งทำการบ้านเท่าที่ทำได้แล้วพอดึกๆก็ไปอาบน้ำแล้วเข้านอน

วันที่12
วันพฤหัสบดี วันนี้ตื่นเช้าหน่อยเพราะวันนี้ต้องไปเรียนพิเศษ พอเลิกเรียนพิเศษก็ไปกินข้าวเที่ยงกับแม่แล้วจึงกลับบ้าน พอถึงบ้านก็นั่งทำการบ้าน พอดึกๆก้อาบน้ำเข้านอน

วันที่13
วันศุกร์ วันนี้ไม่มีนัดทำงานแต่วันนี้ต้องไปงานศพพ่อเพื่อนจึงไม่อยู่บ้าน พอกลับมาถึงบ้านก็นั่งดูโทรทัศน์ แล้วพอดึกๆก็อาบน้ำเข้านอน

วันที่14
วันเสาร์ วันนี้ตื่นสายหน่อนแล้วจึงทำธุรส่วนตัวแล้วจึงนั่งดูโทรทัศน์และทำการบ้านที่อาจารย์สั่งไปด้วยจนค่ำแล้วพอดึกๆก็อาบน้ำเข้านอน

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกประจำวัน น.ส.พิชญานิน



บันทึกประจำวัน






วันที่ 1

วันนี้เป็นวันหยุดพักผ่อนอีกวันหนึ่ง ซึ่งวันนี้ฉันตื่นสายกว่าทุกๆวัน เมื่อฉันตื่นขึ้นมาฉันอาบน้ำแปรงฟันให้สะอาดแล้วจึงทำความสะอาดบ้านและ ช่วยพ่อแม่ทำงานทำงานบ้าน วันนี้ฉันดูรายการโทรทัศน์ที่เคยดูเป็นประจำ แต่ฉันก็ไม่ลืมที่จะทำการบ้าน เพราะพรุ่งนี้ก็ต้องส่งแล้ว ถึงแม้จะเป็นวันหยุดแต่ก็ต้องทำงานอยู่ดี





วันนี้ฉันไม่ค่อยนอนดึกมากเท่าไรนั่นก็เป็นเพราะว่าพรุ่งนี้เรานั้นก็ต้องไปโรงเรียน เพราะเราต้องไปโรงเรียนให้ทันเวลา













วันที่ 2

วันนี้เป็นวันจันทร์ หลังจากที่ได้หยุดกันมาแล้ว 2 วัน ก็ถึงเวลาเรียนกันแล้ว วันนี้เป็นวันที่เรียนหนักจริงๆ แถมงานก็เยอะอีก ช่างเป็นวันที่น่าปวดหัวจริงๆ สงสัยคืนนี้คงจะหลับดึกพอสมควร การเป็นนักเรียนนี้หนักหนาจริงๆ เมื่อไหร่เรานั้นจะผ่านความหนักหนานี้ไปเสียที ถึงแม้จะผ่านช่วงชีวิตการเป็นนักเรียนไปแล้ว เรานั้นก็ต้องทำงานอยู่ดี อาเป็นว่าอย่าพึ่งไปคิดถึงอนาคตดีกว่าแค่ทำวันนี้ให้ดีที่สุดก็พอแล้ว













วันที่ 3

วันนี้ฉันตื่นสายนิดหน่อยเพราะเมื่อคืนนั่งทำการบ้านจนดึกเลยทำให้เช้านี้ตื่นสาย เกือบจะขึ้นรถไม่ทัน





พอมาถึงโรงเรียนถึงรู้ว่าลืมงานของกลุ่มไว้ที่บ้าน โดนแม่ว่าให้แล้วว่าไม่มีความรับผิดชอบ เรานั้นก็สมควรที่จะโดนว่าจริงๆเพราะไม่มีความรับผิดชอบเลย ถ้าไม่มีคนเอาของมาให้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นยังไง ฉะนั้นต้องจำเหตุการณ์นี้ไว้เพื่อเป็นบทเรียนของเราเพื่อที่จะไม่ได้ผิดพลาดต่อไป













วันที่ 4

วันนี้เป็นวันที่ตื่นมาแล้วสดชื่นขึ้นกว่าเทื่อวานที่ผ่านมา เพราะว่าเมื่อคืนการบ้านไม่มากเท่าไร





จึงทำให้เช้านี้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่เหมือนทุกๆวันที่ผ่านมา แต่ก็ยังเรียนหนักอยู่ดี ชีวิตนี้ก็คงหนีไม่พ้นกับการเรียน





แต่ก็ยังดีนะที่ยังมีคาบว่างให้เรา ซึ่งเป็นคาบที่ดีที่สุดของราเลยทีเดียว แต่ก็ยังดีที่วันนี้เป็นวันที่สบายอีกวันหนึ่ง













วันที่ 5

วันนี้มาถึงเร็วเหมือนกัน ไม่ใช่สิต้องบอกว่าใกล้จะหมดอาทิตย์ของการเรียน ทำไมเวลาช่างเร็วเหลือเกิน แต่ก็ดีเหมือนกันจะได้พักผ่อนสักที วันนี้ได้เรียน ฟิสิกส์ตั้ง 4 คาบ แค่แบ่งเป็น พื้นฐานกับเพิ่มเติม ยังไงๆ ก็ยังเรียนหนักอยู่ดี พอกลับมาถึงบ้านจึงรีบรับประทานอาหาร ทำการบ้าน แล้วรีบนอนทันทีเราพะว่าเหนื่อยมาทั้งวันแล้วจึงอยากพักผ่อนให้เต็มอิ่มสักที













วันที่ 6

วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เรียนในสัปดาห์นี้แล้ว เป็นวันที่มีความสุขที่สุดเพราะพรุ่งนี้ก็ได้หยุดพักผ่อนแล้ว





วันนี้สบายจริงๆ เรียนหนังสือก็เหมือนไม่ได้เรียน เพราะว่าได้เรียนไม่กี่คาบก็เลิก ทั้งๆที่วันนี้จะเป็นวันที่เลิกครึ่งวันแต่ห้องเราเป็นห้องที่ต้องเรียนอังกฤษต่ออีกเพราะครูสอนเพื่อทดแทนคาบที่ครูหายไป แต่ก็เอาเถอะเพราะว่าเราจะได้เก่งๆกับเขาสักที













วันที่ 7

วันนี้เป็นวันหยุดที่แสนสบายจริงๆ ซึ่งก็แน่นอนอยู่แล้ววันนี้เป็นวันที่ต้องตื่นสายเป็นที่แน่นอน





ก็คนเราเรียนหนักมาเยอะแล้วจึงต้องพักผ่อนกันบ้าง ซึ่งทุกคนก็คงเขาใจกันดี เราต้องเก็บแรงไว้เพื่อทำงานอีกต่างๆมากมายที่รอเราอยู่ข้างหน้า วันนี้หลังจากที่รับประทานอาหารกลางวันเสร็จแล้ว เราก็คงพักผ่อนอีกตามเคย เพราะว่าเมื่อเราทานข้าวเสร็จ “ ท้องเราตึงแล้ว หนังตาเรานั้นก็เริ่มหย่อน ”













วันที่ 8

วันสุดท้ายของการหยุดพักผ่อนก่อนที่เรานั้นจะเริ่มการเรียน เอาเป็นว่าเราจะต้องเตรียมพร้อมกับการเรียนในพรุ่งนี้ ซึ่งต้องจัดเตรียมกระเป๋า เตรียมเครื่องแบบที่แต่งกายให้พร้อม ที่สำคัญก็คือการบ้านที่จะต้องส่งในวันพรุ่งนี้ ถ้าไม่เตรียมไว้วันนี้ วันพรุ่งนี้ก็คงวุ่นงายแน่ๆ ที่แน่ๆอีกเหมือนกันก็คือ อย่าตื่นสายก็แล้วกันพรุ่งนี้













วันที่ 9

ตื่นเช้ามาก็สดชื่นดีจริงๆ อยากให้การเรียนในวันนี้ดีอย่างนี้จริงๆ ซึ่งในวันนี้การเรียนจะเปลี่ยนเป็น 10 คาบ เพราะว่ามีคาบกีฬาสีเพิ่มขึ้นมาอีกคาบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเวลาเรียนของแต่ละคาบนั้นก็ต้องลดลงซึ่งทำให้แต่ละคาบนั้นเหลือเวลาเพียงน้อยนิด จะต้องเป็นอย่างนี้ไปจนกว่าจะถึงวันกีฬาสีจะมาถึง คงอีกหลายเดือนสินะกว่าจะถึงวันกีฬาสี อดทนรอไว้ ก็แล้วกัน













วันที่ 10

วันนี้การเรียนนั้นรู้สึกว่าจะวุ่นวายจริงๆ เพราะว่าทุกคนหมกมุ่นอยู่กับการทำงานส่งครู ไม่ใช่เพียงแต่เพื่อนห้องเพระว่าตัวฉันเองก็ต้องหมกมุ่นในการรีบทำงานส่งครูอยู่เหมือนกัน ทำไมวันนี้เป็นวันที่เครียดที่สุดเลยก็ว่าได้





ทั้งๆที่โรงเรียนเลิกแล้วยังก็ต้องทำงานส่งครูให้ได้ภายในเย็นนี้อีก แต่ยังไงก็ต้องทำให้ได้ งานนี้เป็นงานกลุ่มทุกคนก็ต่างช่วยกันทำงานจึงทำให้งานวันนี้เสร็จทัน ก็เพราะว่า “ สามัคคีคือพลัง ”













วันที่ 11

วันนี้งานเยอะอีกเช่นเคย แถมยังวันนี้ต้องเรียนอังกฤษอีก ทั้งๆที่วันนี้ไม่ได้เรียน แต่ก็ยังโดนครูแลกคาบให้ได้เรียน และในคาบยังต้องรายงาน งานที่ทำอีกด้วย เป็นภาษาอังกฤษอีกต่างหาก แต่ฉันก็ไม่ได้รายงานหรอกนะเพราะว่ารู้ตัวเองดีว่าไม่ถนัดหรือไม่เก่งสิชานี้เลย จึงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเพื่อนในกลุ่มแล้วกัน





เราก็ได้แต่นั่งเป็นกำลังใจให้ก็แล้วกัน













วันที่ 12

วันนี้ก็เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งเหมือกัน ซึ่งทุกคนก็รูดีว่าเป็นวันอะไร ก็ต้องแน่นอนอยู่แล้วนะ ก็วันแม่ไง





เนื่องจากวันนี้เป็นวันแม่ฉันก็อยากบอกแม่เหมือนกันว่า รักแม่ที่สุดในโลกเลย เพราะแม่เป็นทั้งผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ที่คอยอบรมสั่งสอน เลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็กจนเรานั้นเติบใหญ่ได้ถึงขนาดนี้ และฉันก็คิดว่าทุกคนก็ทำให้แม่ของเราภูมิใจเหมือนกัน แต่ไม่ใช่วันนี้วันเดียวแต่ต้องทำทุกๆวัน

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลสารสนเทศ

ข้อมูล สารสนเทศ

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี

1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ ส่วนใหญ่มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้

2. ความรวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้

3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม

4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์

5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การดูสภาพการใช้ข้อมูลความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย
     1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน

     1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าเครื่อคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน

2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้
     2.1 การจัดแบ่งข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่งหมวดหมู่สินค้า และบริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา

     2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย

     2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่าเช่นสถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น

     2.4 การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย

3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย

     3.1 การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้

     3.2 การค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา

     3.3 การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนา หรือนำไปใช้อีกครั้งได้โดยง่าย

     3.4 การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญ และมีบทบาทที่สำคัญยิ่งท่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา

ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
- เลขจำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
- เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12 หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763 เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบคือ
- แบบที่ใช้การทั่วไป เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34
- แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
123. x 104 หมายถึง 1230000.0
13.76 x 10-3 หมายถึง 0.01376
1764.0 x 102 หมายถึง -176400.0
1764.10-2 หมายถึง -17.64

2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE,
1711101,&76

ประเภทของข้อมูล
ถ้าจำแนกข้อมูลออกเป็นประเภท จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ข้อมูลปฐมภฺมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจและการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วย เครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสื่อสาร

การสื่อสาร
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ


ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ด้านสังคม เพื่อเกิดความเข้าใจ กฏระเบียบ การอยู่รวมกันอย่างสงบสุขในสังคม

2.ความสัมพันธ์ต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า ชักจูงผู้บริโภคโดยการโฆษณา

3.ด้านการปกครอง ใช้เป็นกลไกการกระจายข่าวสารต่าง ๆ สู่ผู้ปกครองให้เข้าใจตรงกันและรับทัศนคติของผู้ถูกปกครอง

องค์ประกอบของการสื่อสาร มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้

1. ผู้ส่งสาร (Sender) คือบุคคล หน่วยงานที่เป็นผู้ส่งสาร แหล่งกำเนิดสาร แล้วส่งสารไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่นด้วยวิธีเดียว หรือหลายวิธี

2. สาร (Message) คือ เรื่องราว สิ่งต่าง ๆ ในรูปข้อมูล ความรู้ ความคิด หรืออารมณ์ที่ผู้ส่งสารให้ผู้อื่นรับรู้ แล้วเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง ประกอบด้วย

2.1 รหัสสาร ทั้งที่ไม่ใช้ถ้วยคำ (กิริยา ท่าทาง เครื่องหมาย) และใช้ถ้อยคำ (ภาษาพูด ภาษาเขียน)

2.2 เนื้อหาสาร แบ่งเป็น ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

2.3 การจัดสาร คือ รวบรวมเนื้อหา เรียบเรียงด้วยการใช้รหัสของสารที่เหมาะสม

3. สื่อหรือช่องทาง (Medium or Channal)
สื่อ หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะที่ทำให้สารเคลื่อนที่ออกไปจากตัวผู้ส่งสาร
ช่องทาง หมายถึง ทางที่ทำให้ผู้ส่งสาร และผู้รับสารติดต่อกันได้

4. ผู้รับสาร (Receiver) คือ ผลที่เกิดจากการรับสารทางพฤติกรรม เช่น หัวเราะ พอใจ ทำให้ทราบถึงความสำเร็จของการสื่อสาร

ประวัติส่วนตัว (น.ส.พิชญา บุญมาสืบ)

 ประวัติส่วนตัว

ชื่อ : นางสาว พิชญา  บุญมาสืบ
ชื่อเล่น : อู๋
เกิด : 12 พฤศจิกายน 2537
อายุ : 15 ปี
ชั้น : ม.4/11
โรงเรียน : ลำปางกัลยาณี
ที่อยู่ : 124 หมู่ 2 ตำบล น้ำโจ้ อำเภอ แม่ทะ จังหวัด ลำปาง 52150
สีที่ชอบ : สีขาว ฟ้า เขียว
สัตว์ที่ชอบ : สุนัข
อาหารที่ชอบ : ก๋วยเตี๋ยว
ดาราที่ชอบ : จังกึนซ๊อก
นักร้องที่ชอบ : วง CN Blue
งานอดิเรก : วาดภาพ อ่านหนังสือนวนิยาย
สถานที่ที่อยากไป : ออสเตรีย เวนิส
อนาคตอยากเป้น : แพทย์ นักวิจัย สถาปนิก

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว น.ส.พิชญานิน






                                                               ประวัติส่วนตัว
             ชื่อ : พิชญานิน ชมภูใบ

                     ชื่อเล่น : จ๋า

                    พศ : หญิง

             เกิดวันที่ : 18 ส.ค. 2538

               IDOL : Big bang Shinee


                    ภูมิลำเนา : Korea















วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สื่งที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้


การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกันการใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวมwbr>wb


การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมุลที่จัดเก็บนั้น